วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กลับมาสร้างบ้านกันต่อ(วางท่อประปาชั้นล่าง)

ห่างหายกันไปนานเลยครับ สำหรับขั้นตอนต่างๆในการสร้างบ้าน จำไม่ได้ว่านานกี่ปีแล้วที่ไม่ได้ลงบทความ 555 แบบว่าลืมกันไปเลย ด้วยวันนี้มีเวลาว่างพอสมควร ประกอบกับมีความอยาก ก้อเลยขอมาทักทายกันนิดนึง

เอาหล่ะ จำได้คร่าวๆ ว่าคราวที่แล้ว ได้พูดถึงการทำคานคอดินไว้ ที่นี้ขั้นตอนต่อไป เราจะทำอะไรกันต่อดี เอาเป็นว่าเราเริ่มเดินท่อประปากันดีกว่าครับ เพราะเราต้องวางระบบประปาไว้ก่อน ไม่งั้นเทพื้นไปแล้ว จะมาวางทีหลัง คงลำบากมากมาย ท่อที่วางก้อจะมีในห้องน้ำ ครัว จุดอื่นๆถ้ามีก้อวางไว้ด้วยเลยครับ

สำหรับห้องน้ำ หลักๆก้อคือ ท่อส้วม ขนาด 4 นิ้ว, ท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างหน้า,ท่อน้ำทิ้งที่พื้น ขนาด  1 1/2 - 2 นิ้ว และก้อท่อน้ำดี ขนาด 4 หรือ 6 หุน

แค่นี้ก่อนนะครับ แล้วจะมาเพิ่มรูปพร้อมคำอธิบาย

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การทำคานคอดิน หรือ คานช้นล่าง

ถึงเวลามาเล่าเรื่่องการก่อสร้างบ้านให้ฟังต่อนะครับ คราวนี้จะมาบอกเล่าถึงสิ่งที่ต้องทำต่อจากการทำฐานราก นั่นก็คือการทำคานคอดิน หรือคานชั้นล่างนั่นเอง

การทำคานคอดินนั้นหลักการง่ายๆ ก็คือ

1. งานเหล็ก

 ในคานจะมีเหล็กเส้น อย่างน้อย 4 เส้น ส่วนจะเป็นขนาดไหน หรือ จำนวนกี่เส้นนั้น ก็ต้องดูที่แบบขยายคาน ซึ่งจะมีรายละเอียดบอกไว้ทั้งหมด

แบบโครงสร้าง



แบบขยายโครงสร้าง




แบบขยายคาน B3

จากแบบแปลนข้างบน เราก็จะทำคานตามแบบ โดยตรวจสอบดูว่า คานตรงส่วนต่างๆนั้นเป็นคาน B_ อะไร เมื่อเราทราบแล้ว เราก็ไปเปิดดูที่แบบขยายโครงสร้าง เช่น ในกรณีที่ผมวงกลมไว้เป็นคาน B3 เราก็ไปดูเลยครับที่แบบขยายโครงสร้าง ซึ่งก็จะเป็นดังรูปคาน B3 ที่เห็นอยู่นี่แหละครับ เราก็ดำเนินการใส่เหล็กให้ถูกต้องตามแบบ


ขออธิบายนิดนึงแล้วกัน สำหรับผู้ที่อ่านแบบคานแล้วไม่เข้าใจ โดยจะไล่จากแถวบนลงมานะครับ
 0.20                            คือ   ขนาดความกว้างของคาน
 0.50                            คือ ขนาดความลึกของคาน
2DB12mm                  คือ ใส่เหล็กขนาด 12 มิลลิเมตร จำนวน 2 เส้น
RB9mm@0.20m        คือ ขนาดของเหล็กปลอกคือขนาด 9 มิลลิเมตร จะใส่ทุกๆระยะ 0.20 เมตรหรือ 20 เซนติเมตร
1DB16mmx4.00กลางคาน คือ ใส่เหล็กขนาด 16 มิลลิเมตร จำนวน 1  เส้น บริเวณกลางคานที่ด้านล่างตามรูปเลยครับ
2DB16                        คือ ใส่เหล็กขนาด 16 มิลลิเมตร จำนวน 2 เส้น ไว้ที่มุมด้านล่าง

เมื่อเราใส่เหล็กคานจนครบแล้ว ก็ทำการเข้าแบบคานทั้ง 2 ด้าน (ในกรณีท้องคานอยู่สูงกว่าระดับดินเดิม ต้องมีไม้แบบท้้องพื้นด้วย) หลังจากเข้าแบบเรียบร้อยแล้ว ก็เตรียมตัวเทคอนกรีตได้เลยครับ

ข้อแนะนำ

เวลาเทคอนกรีตคานถ้าเป็นคานบริเวณที่ต้องรับพื้นเทกับที่ หรือพื้นS (พื้นห้องน้ำ,ระเบียงต่าง) ให้เว้นไม่ต้องเทคอนกรีตเต็มคานนะครับ ประมาณสัก 10 เซนติเมตร เผื่อไว้สอดเหล็กพื้นครับ

อย่าลืมใส่ลูกปูนไว้ระหว่างเหล็กคานกับแบบด้วยนะครับ เพื่อป้องกันไม่ให้เหล็กติดกับแบบคาน เพราะจะทำให้ไม่มีคอนกรีตมาหุ้มเหล็กนะครับ

 
ใช้ไม้ค้ำยันด้านข้างของแบบให้แข็งแรง เวลาเทคอนกรีตแบบจะได้ไม่แตก คานออกมาจะได้สมบูรณ์และแข็งแรง


สังเกตให้ดี จะเห็นลูกปูนอยู่ในแบบคานนะครับ


นิดนึงครับ สำหรับคานบริเวณที่เป็นพื้นเทกับที่ หรือง่ายๆก้อคือ พื้นระเบียง, พื้นห้องน้ำ เวลาเทคอนกรีตไม่ต้องเทเต็มแบบคานนะครับ เทต่ำกว่าเหล็กที่อยู่บนสุดประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อไว้สอดเหล็กทำพื้นนะครับ

หลังจากเทคานเรียบร้อย แกะแบบคานออกแล้ว ถ้าต้องการในเรื่องของระบบกำจัดปลวก ก้อให้เริ่มทำได้เลยนะครับ

ในการวางระบบกำจัดปลวกหลักการง่ายๆก้อคือ การวางท่อไว้ใต้พื้น เพื่อที่จะอัดน้ำยาเข้าไปได้
พอดีไม่ได้ถ่ายรูปเก็บไว้ ติดไว้ก่อนแล้วกันนะครับ คราวหน้าจะเอารูปมาลงเพิ่มให้ เพื่อความเข้าใจมากขึ้น  วันนี้ไปก่อนครับ แล้วเจอกันใหม่