วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

การทำฐานราก

เพิ่มคำอธิบายภาพ



คราวนี้มาสร้างบ้านต่อกันดีกว่าครับ เมื่อเราตอกเข็มหรือเจาะเข็มแล้ว เราก็ต้องมาเริ่มทำฐานรากครับ โดยวิธีการทำก็คือ เราต้องหาระดับที่จะทำการตัดหัวเข็มให้ได้ซะก่อน โดยจะต้องเหลือระยะของหัวเข็มถึงพื้นของฐานรากด้วยนะครับ แล้วทำการตัดหัวเข็ม ต่อจากนั้นเราก็ต้องเตรียมเหล็ก ที่เรียกกันว่า เหล็กตะกร้อ ดัดและผูกให้ได้รูปตามแบบแปลนที่ออกไว้ เข้าแบบฐานรากให้เรียบร้อย นำตะกร้อไปลงในแบบฐานรากของเรา อาจจะนั่งบนหัวเข็มหรือครอบหัวเข็มก้อได้ครับ ให้ดูจากแบบแปลนที่เขาออกแบบไว้
ในขั้นตอนนี้ต้องเตรียมเหล็กเสาหรือเหล็กตอม่อไว้ด้วยนะครับ เพราะว่าต้องนำมาผูกติดกับตะกร้อของเราด้วย เพื่อให้เสาของเรา หรือ ตอม่อนั้นติดเข้ากับฐานรากของเราครับ

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่มีอะไรมากแล้วครับ เทคอนกรีตใส่ในแบบฐานรากของเรา เป็นอันจบพิธีการทำฐานรากครับ คงพอเข้าใจกันบ้างนะครับ ถ้าไม่เข้าใจก็ถามมาได้ครับ

รูปแสดงการขุดหลุม ตัดหัวเข็ม 




รูปแสดงการเข้าแบบฐานราก



รูปหลังการเทคอนกรีตฐานราก

เกือบลืมไป ให้ข้อมูลอีกสักนิดดีกว่า

1.การทำฐานรากต้องเช็คตำแหน่งหัวเข็มด้วยนะครับว่าอยู่ตรงจุดตามแบบหรือไม่ ถ้ามีการเยื้องศูนย์ ต้องให้วิศวกรเขาช่วยดูนะครับว่าเยื้องออกไปมากเกินหรือเปล่า ถ้ามากเกินอาจต้องทำการแก้ไขในฐานรากนั้นๆ
2.เหล็กที่ใช้ในการทำฐานรากของบ้านส่วนมากก็จะใช้เหล็กประมาณ DB12, DB16, DB20, DB25 จะอยู่ประมาณนี้แหละ ส่วนบ้านของทุกๆท่านจะใช้เป็นเหล็กอะไรนั้น เหมือนเดิมครับ ดูที่แบบก่อสร้างครับ บอกอีกนิดเผื่อจะไม่รู้จักความหมายของ DB12
DB คือ เหล็กข้ออ้อยครับ เหล็กข้ออ้อยก็คือเหล็กที่มีบั้งอยู่นั่นแหละ ไม่กลมเกลี้ยงตลอดเส้น ถ้าเป็นเหล็กผิวเรียบๆ เรียก RB ครับ
12 คือ  ขนาดของเหล็กครับ อย่างนี้ก็คือ 12 มิลลิเมตร

รูป เหล็ก RB หรือ เหล็กกลม

สำหรับเหล็กกลมหรือ RB ที่นิยมใช้กันก็มีขนาด RB6 RB9 ซึ่งส่วนมากใช้ในการทำปลอกคาน หรือ เสา และใช้สำหรับทำพื้น

รูป เหล็ก DB หรือ เหล็กข้อ้อย

เหล็กข้ออ้อยจะมีลักษณะที่เป็นบั้งตลอดเส้น และ มีหลายขนาดนะครับ ขนาดของเหล็กข้ออ้อยเป็นมิลลิเมตรครับ



ครับทิ้งไว้แค่นี้ก่อนแล้วกัน ขอให้มีบ้านที่แข็งแรง อบอุ่นนะครับ